มงคลที่ ๑๒ เลี้ยงดูบุตร - สงเคราะห์บุตรให้เข้าถึงธรรม
การเลี้ยงลูกตามหลักพุทธศาสนานั้น ต้องเริ่ม ต้นที่พ่อแม่ คือพ่อแม่ต้องทำตัวเป็นต้นแบบที่ดีให้แก่ลูก เราอยากได้ลูกที่มีคุณธรรมสูง มีความกตัญญูกตเวที พ่อแม่ก็ต้องฝึกฝนตนเองให้มีคุณธรรมเหล่านั้นด้วยและทำให้ลูกดูเป็นตัวอย่าง บุญในตัวของพ่อแม่จะดึงดูดให้ได้ลูกแก้วลูกผู้มีบุญที่เป็นยอดกตัญญู
มงคลที่ ๑๒ เลี้ยงดูบุตร - รักลูกให้ถูกทางนิพพาน
สำหรับวันนี้เรามารับฟังเรื่องราวของพระเถรีรูป หนึ่ง ซึ่งมีชื่อว่า พระวัฑฒมาตาเถรี ซึ่งนอกจากท่านจะเป็นแบบอย่างที่ดีงามให้แก่บุตรของตนด้วยการยกตนให้พ้นจาก กองกิเลสแล้ว ท่านยังเป็นกัลยาณมิตรให้กับบุตรอีกด้วย เรียกว่าเป็นที่พึ่งทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น และบุตรของท่านก็ได้ชื่อว่า เป็นอนุชาตบุตร เป็นบุตรผู้เสมอกับมารดา
จงเลือกเอาว่า ต้องการให้ลูกของเราเป็นคนดีในระดับใด เรามีสิทธิ์เลือก จะให้เป็นคนดีแบบทางโลก หรือเป็นคนดีที่แท้จริง ที่สมบูรณ์ทั้งทางโลกและทางธรรมก็แล้วแต่เรา เพราะพ่อแม่คือผู้เปิดโลกให้แก่ลูก แต่ถ้าจะเลี้ยงลูกให้เป็นคนดีตามแบบอย่างของบัณฑิตทั้งหลาย ต้องแนะนำให้ลูกปฏิบัติธรรม ฝึกฝนใจให้หยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗
มงคลที่ ๑๒ เลี้ยงดูบุตร - น้ำใสใจจริง จากมารดา
สามเณรได้ฟังความในใจและรับรู้ถึงความปรารถนาอัน บริสุทธิ์ของโยมมารดา ก็เกิดความสลดสังเวชใจที่ตนต้องตกอยู่ใต้อำนาจกิเลส จึงกลับได้สติมีหิริโอตตัปปะ รีบบอกโยมแม่ว่า "สามเณรไม่สึกแล้ว จะขอบวชตลอดชีวิต"
มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - มหาทานบารมีแห่งยุค
สมัยนั้น อังกุรเทพบุตรซึ่งเคยนั่งอยู่ด้านหน้า ต้องถอยร่น ไปตามกำลังบุญ นั่งอยู่ไกลถึง ๑๒ โยชน์ ส่วนอินทกเทพบุตรนั่งอยู่ที่เดิมใกล้ๆ กับพระพุทธองค์ พระพุทธเจ้าได้ตรัสถามอังกุรเทพบุตรว่า "อังกุระ เธอทำแถวเตาไฟยาว ๑๒ โยชน์ ได้ให้ทานเป็นอันมากในกาลประมาณหมื่นปี บัดนี้เธอนั่งอยู่ไกลตั้ง ๑๒ โยชน์ ซึ่งไกลกว่าเทพบุตรทั้งหมด ไฉนเธอจึงนั่งอยู่ไกลนัก"
ประวัติความเป็นมาของวันมหาปวารณา
กำเนิดวันมหาปวารณา ประวัติความเป็นมาของการทำปวารณาในวันออกพรรษาเกิดขึ้นเมื่อไร ต้องปฏิบัติอย่างไรบ้าง
มงคลที่ ๑๑ บำรุงบิดามารดา - เลี้ยงดูพ่อแม่ เกิดก่อสวรรค์
วันหนึ่ง พระภิกษุผู้เป็นบุตรเศรษฐีได้ข่าวจากเพื่อนภิกษุอาคันตุกะว่า โยมพ่อโยมแม่ของท่านกำลังลำบากต้องขอทานเขากิน ท่านรู้สึกสงสารขึ้นมาอย่างจับใจ ประกอบกับช่วงนั้นท่านรู้สึกท้อแท้เพราะผลการปฏิบัติธรรมที่ไม่ก้าวหน้า จึงคิดอยากสึกออกไปเป็นคฤหัสถ์ เพื่อเลี้ยงดูมารดาบิดา
มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - การให้ที่มีผลมาก (๒)
"ดูก่อนคฤหบดี เวลามพราหมณ์ ก็คือเราตถาคตนี่แหละ เราแม้เมื่อให้ทานมากมายเห็นปานนั้น ก็ไม่ได้มีบุคคลผู้สมควรจะมารับทักษิณาทานของเรา แม้เพียงคนเดียว ถึงกระนั้นก็ส่งผลให้ได้เสวยทิพยสมบัติในสวรรค์เป็นเวลายาวนาน ส่วนท่านได้ให้ทานแด่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข นับว่าได้โอกาสอันเลิศแล้ว เพราะฉะนั้น จงยินดีในการให้ทานต่อไปเถิด"
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - โทษที่ไม่มีโทษ
การที่เราจะเป็นผู้ปกครองที่ดี จะต้องรู้จักสอนคนในปกครองให้เป็นคนดี ให้เขาโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ ที่มีคุณภาพ คือให้มีความรู้คู่คุณธรรม ครูบาอาจารย์ที่ดีก็เช่นกัน ต้องหมั่นตักเตือนสั่งสอนให้ศิษย์เป็นคนดี คอยประคับประคองให้ลูกศิษย์ดำเนินไปในเส้นทางที่ถูกต้อง ถูกทำนองคลองธรรม โดยไม่กลัวภัยที่จะเกิดขึ้นกับตน
มงคลที่ ๒ คบบัณฑิต - สัมมาทิฏฐิ ( ๔ )
สำหรับตอนนี้ มีเรื่องในอดีตชาติของท่านอุรุเวลกัสสปะมาเล่าต่อจากครั้งที่แล้ว ที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า ไม่ใช่เฉพาะในภพชาตินี้เท่านั้น ที่พระองค์ทำลายความเห็นผิดของท่านอุรุเวลกัสสปะ